" รายละเอียดโครงการ "

โครงการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลกุ้งแม่น้ำในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

จากการศึกษา รายงานสถิติผลผลิตการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ประจำปี 2565 ของกลุ่มสถิติการประมง กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง กรกฎาคม 2566 พบว่ามีผลผลิตสัตว์น้ำจืดของประเทศไทยในปี 2565 มีปริมาณรวม 466,953 ตัน มูลค่ารวมทั้งสิ้น 28,517.04 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาข้อมูลผลผลิตกุ้งแม่น้ำอยู่ในอันดับสาม โดยมีปริมาณการผลิต 44,756 ตัน คิดเป็นร้อยละ 9.58 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ที่มีมูลค่า 8,430.78 ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนข้อมูลกุ้งแม่น้ำในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในด้านจำนวนฟาร์มและเนื้อที่ของการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด (เฉพาะที่มีผลผลิต) ประจำปี 2565 พบว่ามีการเลี้ยงกุ้งแม่น้ำในบ่อ (Pond Culture) จำนวน 6 ฟาร์ม เนื้อที่รวม 15 ไร่ และมีราคาเฉลี่ย 265.80 บาทต่อกิโลกรัม

นอกจากนี้ จากสถิติผลการจับสัตว์น้ำจืดจากธรรมชาติ ประจำปี 2565 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ปริมาณสัตว์น้ำจืดที่จับจากธรรมชาติมากที่สุดคือ “แม่น้ำ ลำคลอง ห้วย” จำนวน 315.92 ตัน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามชนิดของกุ้งแม่น้ำสามารถจับได้ จำนวน 10.63 ตัน มีมูลค่า 3,857,510 ล้านบาท

จากข้อมูลข้างต้น คณะทำงานจึงดำเนินการประสานงานเครือข่ายครือผู้เลี้ยงกุ้งแม่น้ำและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสายพันธ์ของกุ้งแม่น้ำ ผู้เลี้ยงกุ้งแม่น้ำและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ประเภทของแหล่งและวิธีการเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ การบริหารจัดการและการตลาด รวมทั้งสภาพปัญหาในการเลี้ยงกุ้งแม่น้ำในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ดังนั้น จึงเป็นที่มาของ “โครงการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลกุ้งแม่น้ำในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี” ภายใต้วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจเก็บข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลกุ้งแม่น้ำในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาและสำรวจข้อมูลสายพันธุ์กุ้งแม่น้ำในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) เพื่อเสนอและประชาสัมพันธ์ผลงานสู่สาธารณชนที่ทำเกิดการรับรู้เป็นวงกว้าง โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ที่เป็นการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ เพื่อบรรยายสถานภาพที่ปรากฏอยู่ และให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ข้างต้น โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เทศบาลนครสุราษฏร์ธานี อีกทั้ง ยังสามารนำข้อมูล ผลการประเมิน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย เชิงสังคม เชิงเศรษฐกิจ และเชิงวิชาการ ต่อไป


" ผลการเก็บข้อมูลกุ้งแม่น้ำในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี "

ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์


ข้อมูลสภาพทั่วไปของปัญหาการเพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ

1. ด้านสถานที่เพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ

1.1 สภาพทั่วไปของ “ปัญหาคุณภาพน้ำ” ที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ

ปัญหาคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งแม่น้ำเกิดจากใช้น้ำประปาทำให้กุ้งน็อคน้ำตาย จึงทำให้เป็นปัญหาที่สำคัญ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพการเจริญเติบโต และผลผลิตของกุ้ง เกษตรกรควรมีการจัดบ่อเลี้ยงอย่างเหมาะสม โดยใช้อุปกรณ์และสารเคมีอย่างถูกต้อง และติดตามคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดปัญหาคุณภาพน้ำและ เพิ่มผลผลิตของกุ้งแม่น้ำ

1.2 สภาพทั่วไปของ “ปัญหาคุณภาพดิน หรือวัสดุที่ใช้เป็นบ่อ/ภาชนะ” เพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ

โดยส่วนใหญ่จะใช้เป็นบ่อปูนซีเมนต์ ทำให้ต้องมีการถ่ายน้ำเพื่อทำความสะอาดบ่ออยู่เป็นประจำ บางที่ ก็มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมง่าย ปัญหาของคุณภาพดินหรือวัสดุที่ใช้เป็นบ่อ/ภาชนะ ที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ จะส่งผลต่อสุขภาพ ผลผลิต และสิ่งแวดล้อม เกษตรควรที่จะเลือกวัสดุที่เหมาะสม เช่นการปรับปรุงคุณภาพดิน และจัดการบ่อเลี้ยงอย่างเหมาะสม เพื่อลดปัญหาของคุณภาพดิน

1.3 สภาพทั่วไปของ “ปัญหาคุณภาพสาธารณูปโภค” เพื่ออำนวยความสะดวกในการเพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ เช่น ถนน ไฟฟ้า เป็นต้น

ปัญหาของน้ำที่หายาก จึงทำให้ต้องใช้น้ำประปา หรือน้ำบาดาล ทำให้ปัญหาคุณภาพสาธารณูปโภค ส่งผลต่อต้นทุนการผลิต ผลผลิต เกษตรกรควรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


2. ด้านรูปแบบของบ่อหรือสถานที่เพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ

2.1 สภาพทั่วไปของ “ปัญหารูปแบบของบ่อหรือสถานที่” ที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ

ด้วยสภาพบ่อเป็นปูนซีเมนต์ จึงทำให้ไม่เหมาะสมสามารถทำให้กุ้งตายได้ต้องดูระดับน้ำให้ดี เพราะจะทำให้กุ้งน็อคและเกิดความเสียหายอย่างหนัก จึงจำเป็นต้องทำรูปแบบของบ่อหรือสถานที่ ที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ ควรออกแบบบ่อให้เหมาะสม เตรียมพื้นบ่อ และดูแลรักษาบ่ออย่างสม่ำเสมอ

2.2 สภาพทั่วไปของ “ปัญหาขนาดและความลึกของบ่อหรือสถานที่” ที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ


3. ด้านการเลือกสายพันธุ์และโรคของกุ้งแม่น้ำ

3.1 สภาพทั่วไปของ “ปัญหาคุณภาพสายพันธุ์กุ้งแม่น้ำ” ที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ

สายพันธุ์มาโคร เป็นสายพันธ์ที่กลายพันธุ์ง่าย เลี้ยงโตยากและเป็นพันธุ์ที่ตายง่ายต้องดูแลดี ๆ และน็อคน้ำง่าย

3.2 สภาพทั่วไปของ “ปัญหาราคาซื่อ-ขาย จากสายพันธุ์กุ้งแม่น้ำ” ที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ

3.3 สภาพทั่วไปของ “ปัญหาโรค การป้องกัน และการรักษา” กุ้งแม่น้ำ

ต้องมีการปรับอุณหภูมิน้ำให้เหมาะสมโดยการไม่อุ่นหรือเย็นเกินไปเพราะมีผลกระทบต่อกุ้ง และมีการผสมยาเพื่อป้องกันโรค กั้นรอบบ่อเพื่อป้องกันวัชพืชและสิ่งต่าง ๆ รอบบ่อเลี้ยง


4. ด้านการเลือกใช้อาหารเพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ

4.1 สภาพทั่วไปของ “ปัญหาคุณภาพอาหารและการเลือกใช้อาหาร” ที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ

โดยทั่วไปใช้อาหารทั่วไปที่มีความเหมาะสมกับอายุของกุ้ง ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป

4.2 สภาพทั่วไปของ “ปัญหาวิธีการให้อาหาร” ที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ

โดยปกติให้อาหารวันละ 2 มื้อ โดยใช้การแก้ปัญหาโดยการใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติ


5. ด้านระยะเวลาการเพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ

5.1 สภาพทั่วไปของ “ปัญหาระยะเวลาการเพาะเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ”

5.2 สภาพทั่วไปของ “ปัญหาการจับและการคัดขนาดกุ้งแม่น้ำ”

ต้องใช้คนงานในการจับกุ้งมาคัดแยกจำนวนเยอะ โดยต้องเลือกกุ้งที่มีขยาดเท่า ๆ กัน และต้องเช็คขนาดทุก ๆ 15 วัน และต้องคัดขนาดทุก ๆ 3 เดือน

5.3 สภาพทั่วไปของ “ปัญหาช่วงเวลาการจำหน่ายกุ้งแม่น้ำ”

ใช้เวลานานในการเลี้ยงและต้องหมั่นดูแลและคัดแยกกุ้งบ่อย แต่ละครั้งที่จะต้องมีการคัดจะต้องใช้จำนวนคนงานเยอะ ผลผลิตไม่แน่นอนเหมือนอย่างอื่น เนื่องจากกุ้งตายง่าย